วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โบสถ์น้อย

โบสถ์น้อย

โบสถ์น้อย[1] หรือ วัดน้อย[2][3] (อังกฤษchapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาทวัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น

ประเภทของโบสถ์น้อย[แก้]

  • โบสถ์น้อยประจำตระกูล[ต้องการอ้างอิง] เป็นศาสนสถานที่ผู้สร้างเป็นผู้มีอันจะกินทีสร้างเป็นที่สำหรับใช้ในการสักการะหรือบรรจุศพสำหรับสมาชิกในตระกูลเช่น "โบสถ์น้อยเมดีชี" ที่เป็นโบสถ์น้อยประจำตระกูลของตระกูลเมดีชีภายในมหาวิหารฟลอเรนซ์
  • โบสถ์น้อยสำหรับสวดมนต์[ต้องการอ้างอิง] (chantry chapel)[4] เป็นศาสนสถานที่ผู้สร้างเป็นผู้มีอันจะกินหรือเป็นบาทหลวงที่อุทิศเงินให้สร้างโบสถ์น้อยส่วนตัวสำหรับตนเองโดยเฉพาะ โบสถ์น้อยชนิดนี้แม้ว่าจะอยู่ภายในโบสถ์และเป็นสมบัติของผู้สร้าง การสร้างจะสร้างในตัวมหาวิหารหรือโบสถ์ใหญ่ ๆ และใช้เป็นสถานที่ที่ผู้สร้างอุทิศเงินให้นักบวชมาสวดมนต์ให้ผู้สร้างหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว โบสถ์น้อยลักษณะนี้มักจะสร้างในขณะที่ผู้อุทิศเงินยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นห้องแคบๆ เล็กๆ ที่ภายในบางครั้งจะเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์ของผู้ตาย มีประตูทางเข้าทางหนึ่งออกทางหนึ่งเพื่อให้ผู้สวดมนต์เดินเข้าทางหนึ่งออกอีกทางหนึ่ง การสร้างก็พยายามให้ใกล้แท่นบูชาเอกที่สุดเท่าที่กำลังทรัพย์จะอำนวย "chantry chapel" มาจากภาษาละตินว่า "cantaria" ซึ่งแปลว่า "ใบอนุญาตให้สวดมนต์" ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "chapellenie"
  • โบสถ์น้อยแม่พระ[ต้องการอ้างอิง] (lady chapel) มักจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารหรือโบสถ์ใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของตัวโบสถ์และอุทิศให้พระนางมารีย์พรหมจารี และมักจะเป็นโบสถ์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบสถ์น้อยต่าง ๆ ของโบสถ์หรือมหาวิหาร
  • โบสถ์น้อยข้าง[ต้องการอ้างอิง] หรือ โบสถ์น้อยรอง[ต้องการอ้างอิง] (side chapel) คือบริเวณภายในมหาวิหารหรือโบสถ์ใหญ่ ๆ ที่อุทิศให้เป็นบริเวณแยกจากส่วนกลางซึ่งอาจจะใช้เป็นทำพิธีย่อยทำการอธิษฐาน การรำพึงธรรม เป็นการส่วนตัว ที่ตั้งอาจจะเป็นมุขยื่นออกไปจากสองข้างทางเดินข้าง หรือเป็นโบสถ์น้อยที่กระจายรอบมุขด้านตะวันออก หรือบางครั้งก็อาจจะยื่นออกไปจากแขนกางเขน ภายในโบสถ์น้อยก็มีลักษณะเหมือนโบสถ์ย่อม ๆ การตกแต่งมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อเข้าชมโบสถ์บางครั้งจะเห็นว่าโบสถ์น้อยข้างต่างๆ จะตกแต่งต่างกันไปตามรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ หรืออยู่ในสภาพที่ต่างกันตามกำลังทรัพย์ของเจ้าของที่อาจจะมั่งคั่งพอที่จะบำรุงรักษาไว้อย่างดีหรืออาจจะอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมเพราะถูกละเลยโดยเจ้าของ
  • โบสถ์น้อยริมทาง[ต้องการอ้างอิง] (wayside chapel) เป็นศาสนสถานที่ใช้เป็นที่สักการะของคริสต์ศาสนิกชนที่มีขนาดเล็กและมักจะตั้งอยู่ในชนบท หรือเป็นสิ่งก่อสร้างเล็กที่มีแท่นบูชาเล็กๆ อยู่ภายในสร้างเป็นระยะ ๆ ก่อนที่จะถึงอาราม เพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางมาไกลหรือวิปัสสนาก่อนที่จะถึงโบสถ์หลัก
  • โบสถ์น้อยประจำสุสาน[ต้องการอ้างอิง] (crematory chapel) มักจะเป็นศาสนสถานขนาดย่อมที่ตั้งอยู่ในบริเวณสุสานที่เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากโบสถ์ที่ขึ้นอยู่ อาจจะใช้เป็นสถานที่ทำพิธีศพสำหรับบุคคลกลุ่มย่อยแทนที่จะเข้าไปทำกันในโบสถ์หลัก

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 30
  2. กระโดดขึ้น "ความเข้าใจเกี่ยวกับวัดคาทอลิก". CatholicThailand. 28 กันยายน 2552. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555.
  3. กระโดดขึ้น คาทอลิกสูงวัยคนหนึ่ง (ม.ป.ป.). "ชาวคาทอลิกแบบเรา ๆ อยากไปวัดแบบไหน?". ThaiLiturgy. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555.
  4. กระโดดขึ้น History.UK.com Churches. Chantry chapel [1]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

 วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โบสถ์น้อย  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โบสถ์น้อยสวดมนต์  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โบสถ์น้อยประจำสุสาน  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โบสถ์น้อยของปราสาท

ระเบียงภาพ[แก้]

เขื่อนกระเสียว

เขื่อนกระเสียว

เขื่อนกระเสียว เป็นเขื่อนดินที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศไทย (เขื่อนดินที่ยาวที่สุดคือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) กั้นลำห้วยกระเสียวตั้งอยู่ที่ บ้านนาตาปิ่น หมู่ที่ 3 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว กรมชลประทาน
สันเขื่อนกระเสียว และระดับน้ำช่วงเดือนมกราคม 2556

ข้อมูลเขื่อน[แก้]

  • ยาว 4,250 เมตร
  • สูง 32.5 เมตร
  • ความกว้างที่สันเขื่อน 8 เมตร
  • พื้นที่ผิวน้ำ 35 ตารางกิโลเมตร
  • ปริมาตรน้ำเก็บกัก 240 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ +87.00 เมตร รทก.
  • ปริมาตรสูงสุด 390 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ +90.64 เมตร รทก.

การใช้ประโยชน์[แก้]

  • ใช้ในการเกษตรกรรมของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว
  • เป็นพื้นที่ประมง
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยว

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อุทยานแห่งชาติพุเตย

อุทยานแห่งชาติพุเตย

อุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 85 ของประเทศไทย
พุเตย เป็นอุทยานแห่งชาติที่เกิดเหตุการณ์เครื่องบินเลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ประสบอุบัติเหตุตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 มีผู้เสียชีวิต 223 คน

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

ด้านธรรมชาติ[แก้]

  • ถ้ำนาคี หมีน้อย ห้อยระย้า และผาใหญ่
  • น้ำตกตะเพินคี่
  • น้ำตกตาดใหญ่
  • น้ำตกพุกระทิง
  • ป่าสนสองใบ
  • ผาใหญ่

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

อุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวในจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันมาก ส่วนที่สูงที่สุดเรียกว่า “ยอดเขาเทวดา” มีระดับความสูง 1,123 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย มีป่าสนสองใบธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีเนื้อที่ประมาณ 198,422 ไร่ หรือ 317.48 ตารางกิโลเมตร
เนื่องด้วยกรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ ป่าเขาห้วยพลู ท้องที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเดิมเป็นวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง วนอุทยานเตรียมการตะเพินคลี่ และป่าไม้ข้างเคียงมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 1224/2537 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ให้นายพันเทพ อันตระกูล นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ จังหวัดสุพรรณบุรี และจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ จากผลการสำรวจพบว่า ประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา เกาะ และน้ำตก ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลู ในท้องที่ตำบลองค์พระ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนิคมกระเสียว ตำบลวังยาว และตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติพุเตย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 85 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันมาก ประกอบด้วยเขาผาแดง เขาพุเตย เขาพุระกำ เขาปลักหมู เขาขโมย เขาม่วงเฒ่า เขาปะโลง และเขาห้วยพลู โดยมียอดเขาเทวดา สูงสุด มีระดับความสูง 1,123 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ ลำตะเพิน ห้วยเหล็กไหล ห้วยองคต ห้วยองค์พระ ห้วยท่าเดื่อ ห้วยขมิ้น ซึ่งไหลลงเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

สภาพอากาศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติพุเตย อากาศค่อนข้างร้อนในช่วงต้นปี และมีฝนตกชุกตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม จะมีปริมาณน้ำบริเวณน้ำตกไหลมากกว่าปกติ

พรรณไม้และสัตว์ป่า[แก้]

สภาพป่าโดยทั่วไปยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วย ป่าสนสองใบธรรมชาติ ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังผสมป่าดิบแล้ง พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ เหียง พลวง แดง ชิงชัน ประดู่ มะค่าโมง ไผ่ป่าต่าง ๆ สนสองใบ
สัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมมาก เนื่องจากมีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไปได้แก่ เสือ เก้ง ชะนี หมี นางอาย หรือลิงลม เม่น งูจงอาง งูเห่า หมูป่า อีเห็น ลิง ฯลฯ

การเดินทาง[แก้]

โดยรถยนต์
  • จากกรุงเทพฯ ให้ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (บางบัวทอง-ชัยนาท) จนกระทั่งถึงทางแยก เข้าสู่อำเภอเดิมบางนางบวช ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอเดิมบางนางบวช ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้ง เข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 733 มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองอำเภอด่านช้าง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
  • จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เข้าสู่ตัวจังหวัดนครปฐม จากนั้นให้เลี้ยวขวาที่สามแยกมาลัยแมน เข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 321 มุ่งหน้าสู่อำเภออู่ทอง ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร และจากอำเภออู่ทอง ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 333 เข้าสู่อำเภอด่านช้าง อีก 50 กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม[แก้]

ป่าสนสองใบ อยู่บนเทือกเขาพุเตย ห่างจากบ้านป่าขีด และที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย ประมาณ 7 กิโลเมตร ทางไปจะผ่านศาลเลาด้าห์ ซึ่งเครื่องบินโดยสารเลาด้าห์แอร์ตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2534 มีผู้เสียชีวิต 223 คน มีต้นสนสองใบขนาด 2-3 คนโอบ อายุประมาณ 200-300 ปี ขึ้นอยู่ทั้งหมด 1,376 ต้น เมื่อขึ้นไปถึงบนป่าสนสองใบจะสามารถชมวิวทิวทัศน์ได้กว้างไกล มองเห็นเหมือนทะเลภูเขาซึ่งมีลมเย็นพัดผ่านตลอดเวลา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่าชมความงามของพฤกษชาติ
น้ำตกตะเพินคลี่ อยู่เลยไปจากน้ำตกพุกระทิง โดยใช้เส้นทางจากทุ่งมะกอกไปบ้านป่าผาก แล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นเขาไปบ้านตะเพินคลี่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงเก่าแก่ อยู่ติดเขตแนวกันชนมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นหมู่บ้านปลอดอาวุธทุกประเภท น้ำตกตะเพินคลี่ ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดมีน้ำตกไหลตลอดปี มองจากน้ำตกจะเห็นยอดเขาเทวดาสูง 1,123 เมตร น้ำตกแห่งนี้เคยมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่สำคัญของทางจังหวัดสุพรรณบุรี
ถ้ำนาคี หมีน้อย ห้อยระย้า และผาใหญ่ อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย (บ้านป่าขี้) ห่างจากอำเภอด่านช้างประมาณ 30 กิโลเมตร มีหินงอก หินย้อย ที่สวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่ชุมนุมของสัตว์ป่าอาทิเช่น หมี งูจงอาง เม่น อ้น สุนัขจิ้งจอก หมูป่า และค้างคาวมากมาย ถ้ำแห่งนี้อยู่ในเขาตู่ตี่ซึ่งมีต้นจันทร์ผา บัวสวรรค์ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
น้ำตกตาดใหญ่ จากทางแยกศาลเลาด้าห์ไปป่าสนสองใบธรรมชาติอีกด้านหนึ่งเดินทางเข้าไปตามป่าสมบูรณ์ ธรรมชาติเต็มไปด้วย ต้นไม้ สัตว์ป่าชุกชุม เดินตามร่องห้วย ไปทางเท้าเข้าหมู่บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ก็พบน้ำตกตาดใหญ่ เป็นน้ำตกที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นมาก มีพืชชั้นล่างพันธุ์ไม้ เฟิร์น มอส เกาะตาม รากไม้กิ่งไม้ดูเขียวขจี น้ำตกมีหลายชั้นใกล้กันแต่ละชั้นมีแอ่งหรืออ่างธรรมชาติไม่ลึก นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำตกหรือตั้งแคมป์ พักผ่อน ได้อย่างสบายใจและปลอดภัย
ผาใหญ่ เป็นหน้าผาสูงบริเวณเขาตู่ตี่ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร บนเขายังมีถ้ำย้อยระย้า ซึ่งมีหินงอกหินย้อยงดงาม ยามกระทบแสงจะส่องประกายแวววาว การเดินทางขึ้นสู่ถ้ำลำบากพอสมควร บางช่วงต้องปีนไต่ไปตามไหล่เขา
น้ำตกพุกระทิง อยู่ที่บ้านคลองเหล็กไหลใกล้บ้านวังโหรา จะมีทางลูกรังเข้าไปถึงน้ำตกพุกระทิง จากอำเภอด่านช้างถึงน้ำตกพุกระทิง มีอ่างเก็บน้ำลำตะเพินตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พต. 2 (พุกระทิง) ประจำอยู่พร้อมที่จะบริการให้ความสะดวก และรักษาความปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ น้ำตกพุกระทิงแม้จะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ก็สวยงามด้วยสายน้ำ ที่ไหลลดหลั่นลงมาถึง 9 ชั้น มีน้ำเฉพาะในหน้าฝน

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ
  2. กระโดดขึ้น Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb." ลอสแอนเจลิสไทมส์. May 28, 1991. 2. Retrieved on February 15, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]